หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม
1. หุ่นยนต์ Nachi
หุ่นยนต์อุตสาหกรรมจาก NACHI FUJIKOSHI
Nachi Fujikoshi เริ่มต้นผลิตหุ่นยนต์ในปี 1968 โดยมีการนำความรู้ความเชี่ยวชาญจากแผนกไฮดรอลิกและเครื่องจักรมาประยุกต์ใช้กับการออกแบบหุ่นยนต์นับจากนั้นเป็นต้นมา Nachi Fujikoshi ได้เติบโตและมีความก้าวหน้าในด้านต่างๆ จนกระทั่งได้รับความไว้วางใจจากโรงงานมากมายทั่วโลก ลูกค้าจากทั่วโลกเลือกผลิตภัณฑ์ของ Nachi Fujikoshi เพื่อตอบโจทย์ความต้องการทุกรูปแบบ ตั้งแต่งานขนาดเล็กที่ต้องการความเที่ยงตรงสูงไปจนถึงการยกวัตถุน้ำหนักมาก ทั้งในอุตสาหกรรมการประกอบและการเชื่อม หุ่นยนต์ของ Nachi Fujikoshi เปิดมิติใหม่ให้กับโรงงานผลิตทั่วโลกด้วยประสิทธิภาพความเร็วที่เหนือกว่า และจะยังคงพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งตามความต้องการของลูกค้า เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายของวงการออโตเมชั่นทั่วโลก
แขนหุ่นยนต์อเนกประสงค์ ขนาดเล็กแต่ทรงพลัง
MZ07 Series
- จำนวนของแกนควบคุม: 5 หรือ 6 แกน
- ความสามารถในการรับน้ำหนัก: 7 กก.
- ระยะเอื้อมสูงสุด: 723 ถึง 913 มม.
MZ07 (6 แกน) MZ07L (6 แกน, รุ่นแขนยาว)
MZ07P (5 แกน) MZ07LP (5 แกน, รุ่นแขนยาว)
หุ่นยนต์อเนกประสงค์ขนาดเล็กประสิทธิภาพสูงที่มีประสิทธิภาพการทำงานที่รวดเร็วที่สุดในโลก พร้อมทั้งยังน้ำหนักเบา ขนาดเล็กมีคุณสมบัติป้องกันฝุ่นและหยดน้ำ และยังสามารถติดตั้งได้อย่างยืดหยุ่น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและสามารถนำมาใช้เป็นระบบออโตเมชั่นสำหรับกระบวนการผลิตต่างๆ ได้หลากหลายรูปแบบ โครงสร้างส่วนข้อมือเป็นแบบกลวงทำให้เดินสายไฟภายในส่วนมือได้โดยไม่เกะกะ เหมาะสำหรับการทำงานในพื้นที่แคบ
หุ่นยนต์ขนาดเล็กที่มาพร้อมกับความเร็ว
MZ04 Series
- จำนวนของแกนควบคุม: 6 แกน
- ความสามารถในการรับน้ำหนัก: 4 กก.
- ระยะเอื้อมสูงสุด: 541 มม.
แขนหุ่นยนต์รุ่น MZ04 ใหม่มาพร้อมกับความสามารถในการเคลื่อนที่ที่เร็วเป็นพิเศษ พร้อมการออกแบบให้สามารถเดินท่อและสายต่างๆ ได้อย่างสะดวกภายในแขน เหมาะสำหรับงานหยิบจับวัสดุ งานประกอบ งานตรวจสอบด้วยภาพ และงานประเภทอื่นๆ อีกมากมาย แขนหุ่นยนต์รุ่นนี้มีน้ำหนักเบาและขนาดเล็กช่วยลดความซับซ้อนในการใช้งานและประหยัดพื้นที่โดยใช้พื้นที่ติดตั้งเพียงแค่ครึ่งเดียวของรุ่น MZ07 (เท่ากระดาษขนาด A5)
แขนหุ่นยนต์อเนกประสงค์ ขนาดเล็กแต่ทรงพลัง
MC Series
- จำนวนของแกนควบคุม: 6 แกน
- ความสามารถในการรับน้ำหนัก: 10 ถึง 70 กก.
- ระยะเอื้อมสูงสุด: 1,400 ถึง 2,050 มม.
ประสิทธิภาพการป้องกันฝุ่นและหยดน้ำสูง ประสิทธิภาพการทำงานดีเยี่ยม พร้อมด้วยฟังก์ชั่นการทำงานต่างๆ ครบถ้วนสำหรับงานทุกประเภททำให้แขนหุ่นยนต์รุ่นนี้เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมการผลิตในรูปแบบต่างๆ ระยะเอื้อมสูงสุด 2,050 มม. (สูงที่สุดเมื่อเทียบกับแขนหุ่นยนต์ในระดับเดียวกัน) แรงบิดที่ส่วนข้อมือสูงทำให้สามารถใช้งานได้กับการทำงานหลากหลายรูปแบบ
ตัวอย่างการทำงานของหุ่นยนต์ Nachi
2.หุ่นยนต์เป็ปเปอร์ (Pepper)
เป็ปเปอร์ คือ หุ่นยนต์สารพัดประโยชน์ ที่สามารถแสดงอารมณ์ทางสีหน้าได้ จัดจำหน่ายโดยบริษัทซอฟต์แบงก์ โรโบติกส์ คอร์ป บริษัทผู้ผลิตในญี่ปุ่น ในราคาตัวละ 198,000 เยน หรือประมาณตัวละ 53,000 บาท ซึ่งผู้ซื้อจะต้องเสียค่าบริการผู้ซื้อจะต้องเสียค่าบริการรายเดือนในการอัพเดตซอฟต์แวร์และค่าประกันเพิ่มอีกเดือนละ 24,600 เยน (6,600 บาท) ถึงแม้จะดูราคาแพง แต่สำหรับการใช้งานแล้ว หลายคนก็คิดว่ามันคุ้มค่าทีเดียว เพราะเป็ปเปอร์ถูกออกแบบมาให้คล้ายกับเป็นเพื่อนของเรา มันจะคอยสร้างความสุขให้กับเรา จดจำโทนเสียงของเราได้ พยายามจดจำสีหน้า ปฏิกิริยาต่างๆ ไว้ตอบโต้เรากลับ พยายามทำให้เรามีความสุข ซึ่งลักษณะท่าทางของเป็ปเปอร์จะคล้ายกับคนๆ หนึ่ง จะมีสีหน้าผ่อนคลายเมื่ออยู่กับคนที่จดจำโทนเสียงได้ เป็นคนที่คุ้นเคย ขณะเดียวกันเมื่ออยู่กับคนที่ไม่คุ้นเคยก็อาจจะมีสีหน้าที่แตกต่างไป
นอกจากจะแสดงสีหน้า อารมณ์ต่างๆ ได้แล้ว เป็ปเปอร์ยังเป็นอัจฉริยะด้านภาษาอีกด้วยล่ะ เพราะสามารถพูดได้ถึง 4 ภาษาด้วยกัน ทั้งญี่ปุ่น อังกฤษ สเปน และ ฝรั่งเศส แถมยังสามารถร้องเพลง เต้น และเล่าเรื่องตลกต่างๆ นานาได้ เป็นเสมือนเพื่อนคนหนึ่ง ที่คอยสร้างความสุข ความสนุกให้กับคนเรา ไม่เพียงแต่เป็นเพื่อนแก้เหงา แต่ยังคอยช่วยเหลือด้านภาษา ทำงานสาธารณะ ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ได้อีกด้วย
ตัวอย่างการทำงานของหุ่นยนต์ (Pepper)
3.“The Moley Robotics Kitchen” หุ่นยนต์ทำอาหารอัตโนมัติ
หลักการทำงานของมือจักรกลนั้น มันจะเก็บข้อมูลท่าทางการทำอาหารจากมนุษย์ ซึ่งมีการเก็บข้อมูลแบบสามมิติไว้ที่สตูดิโอครัวที่จะได้จัดเตรียมไว้ ซึ่งเมื่อมีการนำเชฟที่มีชื่อเสียงมาทำอาหารและเก็บข้อมูลเป็นสูตรอาหารไว้หลายๆเมนู เราก็จะสามารถเลือกสั่งให้หุ่นยนต์นั้นทำอาหารนั้นๆได้แบบเดียวกับเชฟนั้นเอง คาดว่าต่อไปจะมีการจำลองการเคลื่อนไหวได้โดยตรงจากผู้ใช้และทำอาหารแบบเดิมได้เหมือนผู้ใช้ไปยืนทำเอง
ข้อดีของการใช้หุ่นยนต์มาช่วยในการทำอาหาร นอกจากความสะดวกสบายที่เพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังเป็นการลดปริมาณการสิ้นเปลื้องของวัตถุดิบ การเกิดของเสียจากการทำอาหารน้อยลง ลดปริมาณขยะจากบรรจุภัณฑ์ ลดการใช้พลังงานในการทำอาหาร และลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งทั้งจากการออกไปซื้อวัตถุดิบหรือการสั่งอาหารมาทานจากภายนอก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น